Brainwell Medical  |  Advanced Brain Stimulation

Brainwell Medical  |  Wisdom Energy Longevity Laugh

คำถามที่พบบ่อย

Brainwell Medical

คำถามที่พบบ่อย สำหรับ TMS Brainwell

คำถามที่พบบ่อย

สำหรับ TMS Brainwell

การปฏิบัติตัวหลังกระตุ้น nTMS ?
  • ดื่มน้ำทันทีหลังกระตุ้น เพื่อให้เลือดไปเลี้ยงสมองได้ดีขึ้น
  • ใช้ชีวิตได้ตามปกติ กินได้ตามปกติ งดของหวาน ของทอด ของมัน ซึ่งอาหารเหล่านี้ทำให้สมองทำงานแย่ลง และเส้นเลือดอักเสบ
  • หลังกระตุ้น บางคนอาจง่วง บางคนคึกครื้น ขึ้นกับสมองแต่ละคน
เมื่อไหร่ควรหยุดกระตุ้น nTMS ?

เมื่อทำไปแล้ว 20 ครั้ง และไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นเลย ควรหยุดและดูว่าเกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง เช่น กินยาบางตัวมากเกินไป กินยาตีกันหลายตัว หรือบางโรคที่รุนแรงมากไม่ตอบสนองจริงๆก็ควรหยุด

โดยทั่วๆไปสมองและร่างกายจะใช้เวลาประมาณ 4-6 สัปดาห์ในการปรับตัว ดังนั้นถ้าทำไปแล้ว 20 ครั้งและรอดูภายใน 1 เดือน น้องๆมักจะมีพัฒนาการที่ดีขึ้น

ต้องทำ nTMS กี่ครั้ง ?

โดยเฉลี่ย 20-100 ครั้ง ยิ่งทำต่อเนื่อง ยิ่งพัฒนาดีขึ้น จำนวนครั้งขึ้นกับปัจจัยเหล่านี้

1. เป็นโรคอะไร เพราะแต่ละโรคตอบสนองไม่เหมือนกัน เช่น โรคออทิสติกเทียมก็ตอบสนองเร็ว ความรุนแรงมากน้อยแค่ไหน ถ้ารุนแรงไม่มากก็ตอบสนองเร็ว

2. ความแม่นยำในการฟื้นฟู ถ้ากระตุ้นแม่นยำตรงจุด ใช้โปรโตคอลที่ถูกต้อง ก็ได้ผลเร็ว ความสม่ำเสมอในการฟื้นฟู ยิ่งมาทำสม่ำเสมอ ยิ่งเห็นผลเร็ว

3. การฝึกที่บ้าน การฝึกกิจกรรมบำบัด การฝึกกายภาพบำบัด การฝึกพูด “ต้องทำ” ร่วมด้วยเสมอ ยิ่งฝึกบ่อยยิ่งดีขึ้นเร็ว

4. การนอนหลับและออกซิเจน ถ้านอนเร็ว นอนเพียงพอ และไม่มีทอนซิลโต ไม่มีต่อมอดีนอยด์โต ไม่มีนอนกรน จะทำให้ออกซิเจนไปเลี้ยงสมองได้เต็มที่

5. โภชนาการ การกินหวาน น้ำอัดลม น้ำหวาน เค้ก ชีส อาหารเค็ม ของทอด อาหารหมักดอง พวกนี้ทำให้สมองทำงานช้าลง และส่งผลให้พัฒนาการช้าได้

6. การเลี้ยงดู เลิกเล่นมือถือ แท็บเล็ต ทีวี เข้าใจพัฒนาการตามจริงของเค้า ไม่ใช่ตามความคาดหวังของผู้ใหญ่ หลายๆคนไม่เหมาะกับการเรียน 2 ภาษา ควรค่อยๆ สอนภาษาเดียวก่อน

7. อายุของน้องที่เริ่มกระตุ้น ยิ่งอายุน้อย สมองจะมีการพัฒนาเจริญเติบโตได้อีกมาก ทำให้ผลลัพธ์ค่อนข้างดีในระยะยาว ถ้ามาทำตอนอายุมากหรือเป็นผู้ใหญ่แล้ว สมองจะพัฒนาได้น้อยกว่าตอนเด็ก แต่ก็ยังพัฒนาได้

น้องๆออทิสติกโดยทั่วไป

– 10 ครั้ง เริ่มเห็นผล เช่น เริ่มจ้องมองมากขึ้น เรียกหันง่ายขึ้น สนใจเรียนรู้สิ่งรอบตัวมากขึ้น

– 20 ครั้ง เห็นผลชัดเจน เช่น ดูแลตัวเองได้ กินข้าว ดื่มน้ำ เริ่มถอดเสื้อผ้าได้มากขึ้น เริ่มออกเสียงง่ายๆ

– 30 ครั้ง เห็นผลชัดเจนมาก เช่น ทำตามคำสั่งง่ายๆได้ ออกเสียงได้หลายคำ เล่นกับคนอื่น

– 40 ครั้ง แตกต่างจากเดิมมาก เช่น พูดมีความหมาย เข้าสังคมได้ดีขึ้น

– บางเคสทำไปแล้ว 100 ครั้ง (2 ปีต่อเนื่อง) พัฒนาการดีขึ้นใกล้เคียงเด็กปกติ

หมายเหตุ: น้องที่เป็นออทิสติกเทียม การทำ nTMS 20 ครั้ง ทำให้น้องดีขึ้นแทบใกล้เคียงเด็กปกติ

 

ถ้าไม่ได้กระตุ้นหลายสัปดาห์ พัฒนาการจะแย่ลงไหม ?

“ไม่แย่ลง” แต่การพัฒนาอาจช้ากว่าช่วงกระตุ้น nTMS สม่ำเสมอ เพราะเซลล์สมองที่เชื่อมโยงกันแล้ว จะเชื่อมโยงกันต่อไป เหมือนการฝึกขี่จักรยานถ้าเป็นแล้วคือเป็นเลย แต่ถ้าไม่ได้ขี่นาน ก็อาจขี่ไม่คล่องบ้าง

อายุเท่าไหร่ที่ทำได้ ?
  • อายุ 1 – 94 ปี เหตุผลที่เราสามารถทำได้ทุกช่วงอายุ เพราะเราคือหนึ่งในผู้บุกเบิกและพัฒนาเทคนิค nTMS ร่วมกับสถาบันในยุโรป
  • ยิ่งกระตุ้น nTMS ตั้งแต่อายุน้อยๆ ผลลัพธ์ระยะยาวจะดีกว่า เพราะสมองและระบบประสาทมีการพัฒนาอยู่ต่อเนื่อง
  • หลายๆ เคสมากระตุ้นตอนอายุ 20 ปีไปแล้ว ก็ยังเห็นผลลัพธ์ที่ดีขึ้นกว่าไม่ได้กระตุ้น

 

TMS คืออะไร ?

TMS ย่อมาจาก Transcranial Magnetic Stimulation คือ การกระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็ก

เป็นการกระตุ้นใช้หลักการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้า เมื่อกระแสไฟฟ้าเข้าไปในหัวกระตุ้น จะเหนี่ยวนำให้เกิดคลื่นแม่เหล็กและส่งผ่านไปที่สมอง ไขสันหลัง เส้นประสาท และกล้ามเนื้อ

โดยการกระตุ้นคลื่นแม่เหล็ก จะได้ผลดีเมื่อใช้ร่วมกับการทำกายภาพบำบัด กิจกรรมบำบัด การฝึกพูด การออกกำลังกาย

การกระตุ้น TMS มีหลายเทคนิค ทางคลินิกใช้เทคนิค nTMS (network Transcranial Magnetic Stimulation) หรือ การกระตุ้นสมองแบบเครือข่าย ซึ่งครอบคลุมกว่า ปลอดภัยกว่าและมีประสิทธิภาพสูงกว่าการกระตุ้นแบบเดิมๆ

การเตรียมตัวก่อนกระตุ้น nTMS ?
  • นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ
  • รับประทานอาหารเช้าและดื่มน้ำเพียงพอ เพราะการกระตุ้นสมองทั้งหมด ต้องใช้พลังงานมาก การดื่มน้ำจะทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองเต็มที่
  • ห้ามกินอิ่มมาก ก่อนกระตุ้น 1 ชม. เพราะน้องจะร้องไห้จนอาเจียนได้
  • ลดของหวาน ของมัน ของทอด
  • ต้องตรงต่อเวลา การมาสายจะทำให้เวลาในการฟื้นฟูบุตรหลานของท่านสั้นลง รวมถึงอาจกระทบไปยังคนไข้คนอื่นๆ ที่ส่วนใหญ่มาจากต่างจังหวัด
  • ในช่วงสถานการณ์โควิด ให้นำผ้าขนหนูผืนเล็กติดตัวมาด้วย กรณีน้องร้องไห้ ทางคลินิกขอใช้ผ้าขนหนูปิดปาก เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคและป้องกันการรบกวนเพื่อนบ้าน
ทำยังไง เจ็บมั้ย ?

“รู้สึกเล็กน้อย” เราจะวางหัวกระตุ้นที่ศีรษะ ปาก คอ หรือลำตัวส่วนที่มีปัญหา มีเสียงติ๊กๆขณะกระตุ้นเล็กน้อย

ผู้ปกครองสามารถทดลองกระตุ้นศีรษะหรือลำตัวของตัวเอง เพื่อจะได้เข้าใจความรู้สึก

น้องที่ไม่เคยกระตุ้นอาจร้องไห้เป็นธรรมดาใน 1-5 ครั้งแรก สามารถโอบกอดหรือห่อด้วยผ้าเพื่อความราบรื่นในการฟื้นฟูได้ เพื่อดึงความสนใจของน้อง จะอนุญาตให้เล่นมือถือเฉพาะเวลาทำ nTMS เท่านั้น

ขณะกระตุ้น ใบหน้า ปาก อาจมีกระตุกได้ เป็นเรื่องปกติ เพราะเส้นประสาทตื้นๆถูกกระตุ้นไปด้วย แต่จุดมุ่งหมายของเราคือกระตุ้นลึกเข้าไปถึงสมอง

ขณะทำ nTMS แล้วน้องหน้าเบี้ยว เป็นอะไรมั้ย ?

อาการดังกล่าวไม่ใช่หน้าเบี้ยว แต่เรียกว่า “หน้ากระตุก” เนื่องจากคลื่นแม่เหล็กจะผ่านไปกระตุ้นสมอง แต่คลื่นจะผ่านเส้นประสาทส่วนปลายบนหนังศีรษะด้วย ทำให้เห็นเป็นหน้ากระตุกตามจังหวะการกระตุ้น

เคสแบบไหนไม่ควรมาทำ ?
  • มีโลหะอยู่ในสมอง เช่น กระสุน หรือมี shunt แบบที่เข้า MRI ไม่ได้
  • โรคลมชักที่ยังคุมอาการไม่ได้ ถ้ายังมีอาการชักอยู่ สามารถกระตุ้นที่ลำตัวแขนขาได้ ส่วนการกระตุ้นที่สมอง ควรควบคุมชักได้แล้วอย่างน้อย 3 เดือน
  • เด็กมีไข้สูง หนาวสั่น ไม่สบายรุนแรงจนซึม
  • มะเร็งหรือเนื้องอกในสมอง
  • ติดเชื้อ เป็นแผล หรือ เพิ่งมีอุบัติเหตุที่ศีรษะ
  • คลุ้มคลั่งอาละวาด
ทำบ่อยแค่ไหน

แบบที่ 1

  • มาทำ 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็น วันเว้นวัน หรือ 2-3 วันติดกัน ขึ้นกับความสะดวกของผู้ปกครอง ซึ่งเราจะมีการปรับเทคนิค nTMS ให้เหมาะสมกับน้องแต่ละคน

แบบที่ 2

  • ถ้าบ้านอยู่ไกลมาก เดินทางไปกลับไม่สะดวก แนะนำให้มาพักที่พัทยา 4-5 วัน เพื่อทำ nTMS ติดต่อกัน
  • สามารถทำวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็นได้ ห่างอย่างน้อย 3 ชั่วโมง ไม่ต้องกังวลว่าจะเยอะเกินไป เพราะเราจะปรับวิธีกระตุ้นให้เหมาะสมกับการทำ 2 ครั้งต่อวัน
  • ถ้ามาอยู่ได้ 5 วัน ก็จะทำได้ 10 ครั้ง หลังจากนั้นจะค่อยๆเห็นการเปลี่ยนแปลงภายใน 1 เดือน
  • ยิ่งมากระตุ้นบ่อยก็เห็นผลเร็วขึ้น
    พัฒนาการจะดีขึ้นยังไงบ้าง ?

    ส่วนใหญ่จะมีพัฒนาการเป็นลำดับดังนี้

    • การมองเห็นดีขึ้น มองตา มองหน้ามากขึ้น น้องจะเห็นภาพได้ถูกต้องมากขึ้น
    • การได้ยินดีขึ้น มองตามเสียง น้องจะได้ยินเสียงเหมือนเราได้ยินมากขึ้น
    • การรับรสดีขึ้น กินหลากหลายขึ้น
    • สนใจสิ่งรอบตัวมากขึ้น เพราะประสาทสัมผัสทุกด้านดีขึ้น
    • ดูแลตัวเองได้ กินข้าว ใส่เสื้อผ้า อาบน้ำ แต่ต้องฝึกด้วย
    • เข้าสังคม เล่นของเล่นเป็น เล่นกับเพื่อน
    • ใช้มือดีขึ้น วาด เขียน ระบายสี
    • ออกเสียงเพิ่มขึ้นก่อน เสียงเริ่มมีความหลากหลาย ถ้าไปฝึกกับนักฝึกพูดด้วยจะยิ่งไปเร็ว
    • พูดตามมากขึ้น พูดได้ 1 คำ 2 คำ 3 คำ ช่วงนี้ต้องฝึกเยอะๆ จะยิ่งดีขึ้นเร็ว
    • ครู นักฝึกพูด นักฝึกพัฒนาการ ที่รักษาน้องมาต่อเนื่อง จะสังเกตเห็นว่าน้องพัฒนาเร็วขึ้นชัดเจนมากช่วงกระตุ้น nTMS
    • เจ้าเล่ห์มากขึ้น วางแผนการซับซ้อนเพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการ
    • หลายๆคนก็ทำอาหารได้เอง ซึ่งเป็นพัฒนาการที่ก้าวหน้าอย่างยิ่ง ผู้ปกครองควรส่งเสริมให้น้องทำในสิ่งที่ท้าทายมากขึ้น

    มีการรวบรวมข้อมูลในเชิงวิชาการ เช่น กรณีเป็นออทิสติก จะใช้แบบประเมิน Thai-ATEC ถ้าคะแนนมาก แสดงว่ามีปัญหามาก หลังจากกระตุ้นคลื่นแม่เหล็กไปคะแนนน้อยลง แสดงว่าปัญหาลดลง

    มีผลข้างเคียง มีอันตรายไหม ?

    ผลข้างเคียงที่อาจเกิดได้เสมอ เช่น กินเก่ง หิวน้ำ ง่วงหลังทำ ตรงกันข้ามอาจคึกคัก อารมณ์ดีขึ้น หัวเราะเก่งขึ้น และดื้อขึ้นได้ 

    ผลข้างเคียงที่อาจพบได้ คือ ชักขณะทำ เป็นอาการชักชั่วคราวไม่เกิน 5 นาที นอนพักแล้วดีขึ้น ไม่มีผลต่อพัฒนาการ โอกาสเจอ 1 ใน 60,000 จากประสบการณ์ของหมอที่ทำมา 8 ปีไม่เคยมีชัก​ แต่ก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้เสมอ ถ้ารับความเสี่ยงนี้ไม่ได้ก็ยังไม่ต้องทำก่อน

    การเตรียมตัวให้พร้อม จะช่วยลดการเกิดปัญหาได้

    การกระตุ้นตรงหน้าอกหรือหัวใจ ไม่เป็นอันตรายใดๆ ไม่มีผลต่อหัวใจ โดยเราจะเห็นมือกระตุกได้ เพราะมีแขนงประสาทบริเวณกลางอกไปเลี้ยงถึงแขน

    ระยะเวลาในการกระตุ้น ?
    • ถ้ากระตุ้นที่ศีรษะอย่างเดียว 15 นาที
    • ถ้ากระตุ้นแขนขาด้วย 30 นาที
    โรคที่ได้ผลดีกับ TMS ?
    • โรคที่ได้การรับรองจากองค์การอาหารและยาของประเทศสหรัฐอเมริกา
      (US FDA) ได้แก่ โรคซึมเศร้า ย้ำคิดย้ำทำ ปวดหัวไมเกรน
    • ออทิสติก พัฒนาการช้า พูดช้า เรียนช้า ปัญหาการอ่านเขียน คำนวน ความจำไม่ดี แขนขาอ่อนแรง สมองฝ่อ สมองพิการ
    • เครียด นอนไม่หลับ วิตกกังวล ติดเกม
    • ติดมือถือ
    • สมองเสื่อม ความจำเสื่อม พาร์กินสัน
    • มือเท้าชา ผังผืดกดทับเส้นประสาท
    • อัมพฤกษ์ อัมพาต ไขสันหลังบาดเจ็บ

    TMS Brainwell ✚ แตกต่างจากที่อื่นอย่างไร?

    1- TMS แต่ละที่มีความแตกต่างกันอย่างมาก TMS เป็นชื่อเทคโนโลยีซึ่งแต่ละแบรนด์แต่ละหัวกระตุ้นให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกัน เปรียบเสมือนมีดผ่าตัด ถ้าอยู่ในมือผู้ไม่เชี่ยวชาญอาจได้รับการบาดเจ็บ แต่ถ้าอยู่ในมือผู้เชี่ยวชาญก็จะได้ผลลัพธ์ที่ดี สิ่งที่เราแตกต่างจากที่อื่นคือ …

    2- Brainwell Medical ได้ทดสอบ TMS มาแล้วหลายรุ่นหลายยี่ห้อในประเทศไทย จึงเลือก TMS จากเดนมาร์กที่มีองค์ความรู้และพัฒนา TMS มา 30 ปี และใช้หัวกระตุ้นพิเศษที่ได้ผลดีกว่าหัวแบบผีเสื้อ/เลขแปด อย่างน้อย 20 เท่า สามารถเจาะจงตำแหน่งการกระตุ้นลดผลข้างเคียงได้ดีกว่าหัวแบบสวมหมวก (dTMS, H-coil)

    3- Brainwell Medical เป็นที่แรกในเอเชียที่เริ่มทำวิจัยกระตุ้นสมองในเด็ก (ตั้งแต่ 2012) มีประสบการณ์กระตุ้นสมองมากกว่าสิบปี จำนวน > 10,000 ครั้ง/ปี และเป็นผู้บรรยายและฝึกสอนเรื่อง TMS ในเด็กพิเศษด้วยเทคนิค Network TMS ™️ ที่ร่วมพัฒนาร่วมกับสหภาพยุโรป พัฒนาเป็น Brainwell Algorithm

    4- เรามีการตรวจสมอง (qEEG, LORETA, +/- MRI, MRA) ก่อนและหลังกระตุ้น โดยอาจารย์ปริญญาเอกด้านการตรวจคลื่นสมองจาก ม.มหิดล ออกมาเป็นกราฟเพื่อให้เห็นภาพชัดเจน โดยปราศจากอคติ ทำให้ข้อมูล ณ ปัจจุบัน เมื่อใช้ Brainwell Algorithm ต่อเนื่องเป็นเวลา 1 ปี (50-100 ครั้ง) ผลการกระตุ้นสมองทำให้พัฒนาการเร็วขึ้นเฉลี่ยอย่างน้อย 3,000% เมื่อเทียบกับเด็กที่ไม่ได้กระตุ้นสมองแต่ได้รับการรักษาตามมาตรฐาน (กินยา ฝึกพัฒนาการ ฯลฯ)

    5- อย่างไรก็ตาม การตอบสนองมีทั้งเคสที่ได้ผลดีมาก ดีน้อย หรือไม่ดี ขึ้นกับปัจจัยอย่างน้อย 30 ปัจจัย เช่น การเลี้ยงดู การฝึกฝน ความเข้าใจอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ การกินยา การตามใจ อาหาร ฯลฯ หากท่านสนใจตรวจประเมินติดต่อได้ที่

    Tel Bangkok 098-793-9203 Line OA Bangkok https://lin.ee/w5gJMPh

    Tel Pattaya 088-790-6088 Line OA Pattaya https://lin.ee/8XzFWf