Post-Traumatic Stress Disorder (PTSD)
ภาวะเครียดจากการเผชิญเหตุการณ์รุนแรงที่เป็นจุดวิกฤติทางตรงหรือเป็นผู้ได้รับการสูญเสียจากเหตุการณ์ทางอ้อม คนทั่วไปส่วนใหญ่จะรู้จักโรคนี้ว่า PTSD ชื่อเต็มคือ Post-Traumatic Stress Disorder ซึ่งเป็นภาวะสุขภาพจิตที่พบได้บ่อย อาจเกิดขึ้นหลังจากประสบเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความภาวะเครียดรุนแรง กระทบกระเทือนจิตใจหรือสูญเสีย เช่น อยู่ในเหตุการณ์การก่อการร้าย การออกรบในสงคราม การถูกข่มขืน การเผชิญกับภัยพิบัติรุนแรง หรือเคยเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงกับตนเองหรือครอบครัว
โดยอาการจะเกี่ยวข้องกับ:
- การมองเห็นภาพเหตุการณ์นั้นย้ำ ๆซ้ำ ๆ รู้สึกว่าตนเองอยู่ในเหตุการณ์นั้นซ้ำ ๆ คิดวนเวียน (Flashbacks)
- เห็นภาพหลอน (Visual hallucinations)
- ฝันร้าย (Nightmares)
- เกิดการวิตกกังวลรุนแรง (Severe anxiety)
- ความคิดเชิงลบ (Negative thoughts and beliefs)
- เกิดความตื่นกลัว ใจสั่น มื่อสั่น เหงื่อออก (Panic attacks)
- เกิดความหวาดระแวงและสภาวะของการตื่นตัวมากเกินไป (Hypervigilance)
- หลีกเลี่ยงการเข้าไปในสถานที่หรือเหตุการณ์ที่ทำให้นึกถึง (Avoidance)
- เศร้าหมดหวัง (Depression)
ซึ่งผู้ป่วยจะค่อย ๆ เริ่มมีอาการดังกล่าวข้างต้นจากน้อยไปจนถึงภาวะรุนแรงขึ้นตามระยะเวลาของการเผชิญเหตุการณ์ เนื่องจากภาวะดังกล่าวจะส่งผลต่อจิตใจของผู้ป่วย และทำให้มีผลต่อการใช้ชีวิตรวมถึงด้านอารมณ์ไปด้วย โดยสามารถนำพาไปสู่โรคภาวะทางจิตและพฤติกรรมที่อาจเป็นอันตราย
ซึ่งถือเป็นภาวะแทรกซ้อนจากโรค PTSD ได้แก่:
- โรคที่มีผลทางด้านจิตใจ เช่น โรคซึมเศร้า โรคกลัว โรควิตกกังวล เป็นต้น
- พฤติกรรมที่เป็นอันตราย เช่น การหันมาใช้สารเสพติด หรือการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หรืออาจทำร้ายตนเอง เป็นต้น
- อาการทางร่างกาย เช่น มีอาการปวดท้อง ปวดศีรษะ ปวดหน้าอก เป็นต้น
การรักษาภาวะโรคเครียดจากเหตุการณ์รุนแรง PTSD:
การรักษาโรคดังกล่าวมีด้วยกันหลายวิธีและต้องใช้เวลาในการรักษาเพื่อให้อาการดีขึ้นตามลำดับ ประกอบกับการดูแลจากคนรอบข้างประกอบด้วย โดยมีวิธีรักษาดังนี้
- การรักษาด้วยจิตบำบัด การเข้าพบจิตแพทย์พูดคุยปรึกษาเพื่อปรับให้สามารถค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนความคิดได้ หรือเลือกที่จะเผชิญกับสิ่งที่เรากลัวและเรียนรู้วิธีการรับมือที่ถูกต้องแต่วิธีนี้ต้องอยู่ภายใต้การดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิด
- การหากิจกรรมที่ทำให้ผ่อนคลาย เช่น การออกไปพบปะผู้คน หรือทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัว นอกจากนี้การได้รับการดูแลพูดคุยหรือสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้ที่ผ่านเหตุการณ์ที่คล้ายคลึงกันก็สามารถบำบัดได้เช่นกัน
- การรักษาด้วยการรับประทานยา โดยแพทย์จะให้ยาที่สามารถลดความเครียดหรือช่วยบรรเทาอาการได้ทั้งนี้การใช้ยาต่าง ๆ ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำและคำสั่งของแพทย์เท่านั้น
อย่างไรก็ตามผู้ที่ประสบเหตุการณ์ร้ายแรงอาจไม่จำเป็นต้องเป็น PTSD ทุกคน ขึ้นอยู่กับความสามารถในการปรับตัวของแต่ละคน หากรายใดปรับตัวได้เร็วหลังประสบเหตุก็อาจมีอาการผิดปกติทางจิตใจแค่ช่วงสั้น ๆ แล้วหายไป ถ้าเป็นเช่นนี้ไม่ถือว่าป่วยเป็นโรค PTSD
ปัจจุบันที่ Brainwell Medical ให้บริการรักษาโรค PTSD ด้วยนวัตกรรมคลื่นแม่เหล็กเพื่อฟื้นฟูสมอง: Transcranial Magnetic Stimulation (TMS Brainwell✚) โดยผู้ป่วยควรเข้ารับการรักษาต่อเนื่องตามคำแนะนำจากแพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด ควบคู่กับการรับประทานยาซึ่งส่งผลลัพธ์ในการรักษาที่ช่วยให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น (มีผลการรักษายืนยัน) ทำให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติเร็วขึ้น