ถ้าเรามีญาติเป็นอัลไซเมอร์ที่นอนติดเตียง ค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้ป่วยในระยะเวลา 1 เดือน อาจไม่น้อยกว่า 50,000-100,000 บาทต่อเดือน ! โดยแบ่งออกได้เป็นหัวข้อดังนี้
1. ค่าใช้จ่ายทางตรง
1.1 ค่าแพทย์และยา
- ค่ายาเฉพาะทาง เช่น ยารักษาอัลไซเมอร์ ยาลดความเครียด ยาควบคุมอาการต่าง ๆ
- ค่าตรวจสุขภาพจากแพทย์เฉพาะทาง เช่น ค่าใช้จ่ายการตรวจเลือด การตรวจสมอง
ค่าใช้จ่ายต่อเดือน (ประมาณ): 5,000 – 10,000 บาท
1.2 ค่าพยาบาลและการดูแล
- ค่าพยาบาลที่มาให้บริการถึงบ้าน (ถ้ามี)
- ค่าดูแลทั่วไป เช่น การให้อาหาร การดูแลความสะอาด การช่วยเหลือในการเคลื่อนไหว
ค่าใช้จ่ายต่อเดือน (ประมาณ): 15,000 – 30,000 บาท (ขึ้นอยู่กับชั่วโมงและความเข้มข้นของการดูแล)
1.3 ค่าของใช้สำหรับการดูแลผู้ป่วยติดเตียง
- ผ้าอ้อมผู้ใหญ่
- ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดเฉพาะทาง (สบู่, แชมพู, ยาฆ่าเชื้อ)
- อุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น เตียงผู้ป่วย, ที่นอนกันแผลกดทับ, รถเข็น
ค่าใช้จ่ายต่อเดือน (ประมาณ): 5,000 – 10,000 บาท
1.4 ค่าอาหารและโภชนาการ
- อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วยที่มีความต้องการพิเศษ เช่น อาหารปั่น อาหารทางการแพทย์
ค่าใช้จ่ายต่อเดือน (ประมาณ): 5,000 – 8,000 บาท
2. ค่าเสียโอกาสของผู้ดูแล
- หากผู้ดูแลต้องลาออกจากงานหรือลดชั่วโมงการทำงาน ค่าเสียโอกาสทางรายได้อาจเป็นส่วนสำคัญในต้นทุนของการดูแล
- ตัวอย่าง: รายได้เฉลี่ยของคนทำงานต่อเดือนในไทย (ประมาณ 20,000 – 30,000 บาท)
ค่าเสียโอกาสต่อเดือน (ประมาณ): 20,000 – 30,000 บาท
3. ค่าใช้จ่ายทางอ้อม
- ค่าขนส่ง: หากต้องพาผู้ป่วยอัลไซเมอร์ไปพบแพทย์หรือรับบริการต่าง ๆ
- ค่าซ่อมบำรุงอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น เตียง, รถเข็น
ค่าใช้จ่ายต่อเดือน (ประมาณ): 2,000 – 5,000 บาท
สรุปค่าใช้จ่ายต่อเดือนสำหรับการดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์
- ค่าใช้จ่ายทางตรง: ประมาณ 30,000 – 58,000 บาท
- ค่าเสียโอกาสของผู้ดูแล: ประมาณ 20,000 – 30,000 บาท
- ค่าใช้จ่ายทางอ้อม: ประมาณ 2,000 – 5,000 บาท
รวมทั้งหมดต่อเดือน: ประมาณ 52,000 – 93,000 บาท
ตัวเลขเหล่านี้เป็นการประมาณการเบื้องต้น ซึ่งอาจแตกต่างได้ตามสถานการณ์ของแต่ละบุคคล
ดังนั้นถ้าเราช่วยชะลออาการของโรคให้ช้าลง หรือช่วยให้คนไข้มีอาการดีขึ้น จะช่วยลดค่าใช้จ่ายได้ปีละ 600,000 – 1,200,000 บาท
เทคโนโลยีกระตุ้นสมองใหม่ๆที่ช่วยสมองผู้ป่วยอัลไซเมอร์ได้ ชะลออาการของโรค ยืดเวลาแห่งความสุขให้นานขึ้น
การรักษาผู้ป่วยอัลไซเมอร์มีหลายวิธีในปี 2024 รวมไปถึงการรักษาแบบใหม่ที่ไม่ต้องใช้ยา และไม่ต้องผ่าตัด

Transcranial pulse stimulation (TPS) การกระตุ้นสมองด้วยคลื่นพัลส์
เป็นคลื่นเหนือเสียงชนิดหนึ่ง ในรูปแบบคลื่นกระแทกพลังงานต่ำ ได้รับรองมาตรฐานยุโรปและ อย.ไทย ในการฟื้นฟูสมองโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s dementia) โดยคลื่นพัลส์จะเพิ่มการแตกแขนงของเส้นเลือดในสมองและทำให้เซลล์สมองมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น จากงานวิจัยคะแนนความจำในอัลไซเมอร์ จะเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนอย่างน้อย 1 เดือนหลังการกระตุ้น สูงสุดที่ 3 เดือน และคงอยู่ต่อได้นาน 6-12 เดือน ทำให้ผู้ป่วยมีความจำและคุณภาพชีวิตดีขึ้น
จากกราฟด้านล่าง เส้นสีแดงคือคะแนนความจำในผู้ป่วยอัลไซเมอร์ทั่วๆไป จะพบว่าคะแนนค่อยๆลดลงตามอายุและความรุนแรงที่เพิ่มขึ้น

ส่วนเส้นสีน้ำเงินคือคะแนนความจำในผู้ป่วยอัลไซเมอร์ที่ได้รับการกระตุ้น TPS ไป 6 ครั้ง จะเห็นได้ว่าคะแนนความจำดีขึ้นหลังทำ TPS ไป 1 เดือน และสูงสุดที่ 3 เดือน คะแนนดีต่อเนื่องไปอีก 12 เดือน แล้วจึงค่อยๆตกลงตามธรรมชาติของตัวโรคอัลไซเมอร์
ดังนั้นการกระตุ้นสมองด้วยคลื่นพัลส์ TPS จะช่วยชะลอความเสื่อมของสมองอัลไซเมอร์ ยืดเวลาในการติดเตียง เพิ่มความจำและคุณภาพชีวิต และยืดเวลาแห่งความสุขของคนไข้ให้นานขึ้น ทำให้ครอบครัวประหยัดค่าใช้จ่ายไป 600,000 – 1,200,000 บาทต่อปี
นอกเหนือจาก TPS การกระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็ก Transcranial magnetic stimulation (TMS) จะไปเพิ่มการทำงานของเซลล์สมอง การนำกระแสไฟฟ้าในเส้นใยสมอง ทำให้อารมณ์ดีขึ้น สดชื่อ แอคทีฟ ความจำดีขึ้น และพูดคล่องขึ้นได้
ปรึกษาการฟื้นฟูสมองเสื่อมด้วย TPS และ TMS ปรึกษาเพื่อขอคำแนะนำทางการแพทย์เฉพาะรายบุคคล การส่งต่อ ปรึกษาเคส การประชุม การจัดอบรมวิชาการ หรือความร่วมมือสำหรับบุคลากรการแพทย์ ติดต่อ Brainwell Medical ✚ www.BrainwellMedical.com
Brainwell Medical ✚ | Advanced Brain Stimulation
#ความจำเสื่อม #สมองเสื่อม #อัลไซเมอร์ #TPS #TMS #Brainwell
อ้างอิงแหล่งข้อมูล
- [1] https://www.phyathai.com/th/article/alzheimers-neuro-pyt1
- [2] https://www.nakornthon.com/article/detail/โรคสมองเสื่อมรู้ทันป้องกันได้
- [3] https://allwellhealthcare.com/alzheimer-treatment-cost/
- [4] https://www.medparkhospital.com/disease-and-treatment/alzheimers-disease
- [5] https://he01.tci-thaijo.org/index.php/HCUJOURNAL/article/download/146873/117323/450487
- [6] https://www.samitivejhospitals.com/th/article/detail/alzheimer-dementia
- [7] https://www.tiscowealth.com/article/health-protection-advisory/alzheimer-critical-illness-insurance.html
- [8] https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHPC9Journal/article/download/261356/178447