สมองช้าจาก COVID-19
เป็นกลุ่มอาการที่พบบ่อยหลังติดเชื้อโควิด-19 ส่งผลต่อการทำงานของสมอง คิดอะไรไม่ออก สมาธิสั้น ความจำเสื่อม
สาเหตุ

1. การอักเสบในสมองและระบบประสาท:
- เชื้อไวรัสโควิด-19 สามารถเข้าสู่ระบบประสาทและทำให้เกิดการอักเสบ ส่งผลต่อการทำงานของสมอง
- ร่างกายอาจสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสมากเกินไป เกิดเป็นภาวะ “ไซโตไคน์สตอร์ม” ทำลายเซลล์สมอง
2. ปัญหาการไหลเวียนโลหิต:
- เชื้อไวรัสโควิด-19 อาจส่งผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด ทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงสมองได้น้อยลง
- ภาวะปอดอักเสบจากโควิด-19 ทำให้การแลกเปลี่ยนออกซิเจนในปอดลดลง ส่งผลต่อปริมาณออกซิเจนที่ไปเลี้ยงสมอง
3. ฮอร์โมนผิดปกติ:
- เชื้อไวรัสโควิด-19 อาจส่งผลต่อต่อมไร้ท่อ ทำให้ฮอร์โมนต่างๆ ผิดปกติ เช่น ฮอร์โมนไทรอยด์ ฮอร์โมนเพศ ส่งผลต่อการทำงานของสมอง
- ภาวะเครียด วิตกกังวล จากการป่วยโควิด-19
4. ปัจจัยทางจิตใจ:
- ภาวะเครียด วิตกกังวล ซึมเศร้า จากการป่วยโควิด-19
- การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ
- ภาวะลองโควิด (Long COVID)
ปัจจัยเสี่ยง
- เพศหญิง
- อายุมาก
- มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง
- อาการป่วยโควิด-19 รุนแรง
- มีภาวะลองโควิด (Long COVID)
อาการ


- คิดอะไรไม่ออก
- สมาธิสั้น
- ความจำเสื่อม
- มึนงง
- ปวดศีรษะ
- อารมณ์แปรปรวน
- นอนหลับยาก
- เหนื่อยล้า
การรักษา
แนวทางการฟื้นฟูสมองหลังโควิด-19
แม้ว่าจะยังไม่มีวิธีรักษาเฉพาะสำหรับภาวะสมองล้า แต่มีหลายวิธีที่สามารถช่วยให้สมองฟื้นตัวได้เร็วขึ้น
1. พักผ่อนให้เพียงพอ
- นอนหลับพักผ่อน 7-8 ชั่วโมงต่อวัน
- หลีกเลี่ยงการนอนหลับกลางวันนานๆ
- จัดตารางการนอนหลับให้สม่ำเสมอ
2. ทานอาหารที่มีประโยชน์
- เน้นทานผัก ผลไม้ ธัญพืช โปรตีน
- เลี่ยงอาหารแปรรูป อาหารที่มีน้ำตาลสูง ไขมันอิ่มตัว
- ดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอ
3. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- ออกกำลังกายแบบแอโรบิก 30 นาที 5 วันต่อสัปดาห์
- เลือกกิจกรรมที่ชอบ เช่น เดิน วิ่ง ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน
- เริ่มต้นจากการออกกำลังกายเบาๆ ค่อยๆ เพิ่มระยะเวลาและความหนักหน่วง
4. ฝึกสมาธิ
- ฝึกสมาธิ 10-20 นาทีต่อวัน
- ฝึกหายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ
- ฝึกโฟกัสกับสิ่งปัจจุบัน
5. บริหารจัดการความเครียด
- หากิจกรรมผ่อนคลาย เช่น ฟังเพลง อ่านหนังสือ
- พูดคุยกับเพื่อน ครอบครัว หรือแพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด
- ฝึกเทคนิคการจัดการความเครียด เช่น โยคะ นวดผ่อนคลาย
การกระตุ้นสมอง: ทางเลือกใหม่สำหรับภาวะสมองล้า
สำหรับบางคน การกระตุ้นสมอง อาจเป็นทางเลือกที่ช่วยฟื้นฟูสมองได้เร็วขึ้น โดยเฉพาะ การกระตุ้นด้วยคลื่นแม่เหล็ก (TMS) และคลื่นพัลส์ (TPS) ซึ่งเริ่มมีการนำมาใช้ในการฟื้นฟูความจำและความคิด
การกระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็ก (TMS)

- ใช้ คลื่นแม่เหล็ก เพื่อกระตุ้นการทำงานของสมองในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ ความจำ สมาธิ และอารมณ์
- มีส่วนช่วยในการ เพิ่มสารสื่อประสาทในสมอง และปรับสมดุลของระบบประสาท
- ยังช่วยบรรเทาอาการ ซึมเศร้าและปัญหาการนอนหลับ ที่พบร่วมกับภาวะสมองล้า
การกระตุ้นสมองด้วยคลื่นพัลส์ (TPS)

- ใช้ คลื่นเสียงอัลตราซาวด์แบบพัลส์ เพื่อกระตุ้นสมองส่วนลึก โดยเฉพาะ ฮิปโปแคมปัส (Hippocampus) ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการจำและการเรียนรู้
- มีส่วนช่วยในการ เพิ่มการไหลเวียนโลหิตในสมอง และซ่อมแซมเซลล์ประสาท
- แต่เดิมถูกพัฒนาเพื่อรักษา โรคอัลไซเมอร์ แต่ปัจจุบันกำลังมีการศึกษาเพื่อนำมาใช้กับ ภาวะสมองล้า และการฟื้นฟูสมองหลังโควิด-19
ทั้ง TMS และ TPS เป็นวิธีที่ไม่ต้องผ่าตัด และไม่เจ็บปวด ทำให้เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่มีอาการสมองล้าระยะยาว
จากประสบการณ์การรักษาของเรา ทั้งหมอ วิศวะ ผู้บริหาร นักเรียน นักศึกษา สามารถดีขึ้นได้ภายใน 2-4 สัปดาห์
