โรคสมองเสื่อม
สาเหตุ
โรคสมองเสื่อมมีหลายสาเหตุ ขึ้นอยู่กับตำแหน่งและความรุนแรงของสมองที่เสื่อม
- โรคอัลไซเมอร์: พบมากที่สุด เกิดจากการสะสมของโปรตีนผิดปกติในสมอง
- โรคหลอดเลือดสมอง: เกิดจากเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ
- โรคพาร์กินสัน: เซลล์ประสาทในสมองส่วนกลางเสื่อม
- โรคเลวีบอดีส์: เกิดจากการสะสมของโปรตีนผิดปกติชนิด Lewy body ในสมอง
- ภาวะสมองเสื่อมอื่นๆ: เช่น โรคฮันติงตัน โรคพิค
- สาเหตุอื่นๆ: เช่น การขาดสารอาหาร การติดเชื้อ การบาดเจ็บที่ศีรษะ
ปัจจัยเสี่ยง
- อายุที่เพิ่มขึ้น และจะเสี่ยงสูงในคนที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป
- พันธุกรรม
- ยีนส์หลายชนิดที่มีความเกี่ยวข้องกับภาวะสมองเสื่อม โดยเฉพาะ โรคอัลไซเมอร์ เช่น APP เกี่ยวข้องกับการผลิตโปรตีนอะไมลอยด์ GRN เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตและการทำงานของเซลล์ประสาท TREM2 เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันของสมอง
- โรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง โรคไต โรคอ้วน
- การสูบบุหรี่
- ขาดการออกกำลังกาย
- ภาวะซึมเศร้า
- อุบัติเหตุต่อสมอง เช่น ตกจากที่สูง ล้มหัวฟาด เส้นเลือดสมองตีบหรือแตก
- สารเคมีในชีวิตประจำวัน
- 1. โลหะหนัก เช่น ตะกั่ว (ในสีทาบ้าน แบตเตอรี่ น้ำปนเปื้อน) , สารปรอท, อะลูมิเนียม
- 2. ยาฆ่าแมลง
- 3. ทินเนอร์ น้ำมันเบนซิน
- 4. ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ จากควันท่อไอเสีย
- 5. ฝุ่น pm 2.5
อาการ
- ความจำเสื่อม ลืมสิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้น ลืมนัดหมาย
- พูดหรือสื่อสารลำบาก หาคำพูดไม่เจอ
- มึนงง สับสน ปัญหาการคิดวิเคราะห์ คิดวางแผนลำบาก
- หลงทาง หลงสถานที่
- อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิด โมโหง่าย ซึมเศร้า
- สูญเสียทักษะการทำกิจวัตรประจำวัน
การตรวจวินิจฉัย
การวินิจฉัยภาวะสมองเสื่อมมักต้องอาศัยแพทย์แพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัดหลายท่านร่วมกันวินิจฉัย โดยทั่วไปแพทย์จะทำการดังต่อไปนี้
1. ซักประวัติ:
- ซักถามเกี่ยวกับอาการที่ผู้ป่วยพบ เช่น ความจำเสื่อม พูดหรือสื่อสารลำบาก หลงทาง อารมณ์แปรปรวน
- ซักถามเกี่ยวกับโรคประจำตัว การใช้ยา ความเสี่ยงต่างๆ เช่น พันธุกรรม การสูบบุหรี่
- ซักถามเกี่ยวกับประวัติทางสังคม ครอบครัว และการทำงาน
2. ตรวจร่างกาย:
- ตรวจวัดความดันโลหิต ชีพชีพทั่วไป
- ตรวจระบบประสาท เช่น การทรงตัว การเดิน การตอบสนองต่อสิ่งเร้า
3. ตรวจความรู้ความเข้าใจ:
- ทดสอบความจำระยะสั้น ระยะยาว
- ทดสอบการคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา
- ทดสอบการใช้ภาษา การสื่อสาร
- แบบคัดกรองภาวะสมองเสื่อม เช่น MMSE (Mini-Mental State Examination)
- แบบทดสอบความรู้ความสามารถของสมอง เช่น MoCA (Montreal Cognitive Assessment)
4. ตรวจเพิ่มเติม:
- ตรวจเลือดเพื่อหาสาเหตุอื่นๆ เช่น โรคไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ ภาวะขาดวิตามิน
- เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) หรือ MRIสมอง เพื่อดูความผิดปกติของสมอง
- PET scan หรือ SPECT scan เพื่อดูการทำงานของสมอง
การรักษาสมองเสื่อมด้วยยา
ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรคสมองเสื่อมให้หายขาด แต่ยามีบทบาทสำคัญในการชะลออาการและบรรเทาความรุนแรงของโรค ยาที่ใช้รักษาภาวะสมองเสื่อมมีดังนี้
1. ยากลุ่ม Cholinesterase inhibitors
ยากลุ่มนี้ช่วยเพิ่มสารสื่อประสาท acetylcholine ในสมอง
เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ในระยะเริ่มแรกและระยะปานกลาง
ตัวอย่างยา: Donepezil (Aricept), Rivastigmine (Exelon), Galantamine (Reminyl)
2. ยากลุ่ม Memantine
ยากลุ่มนี้ช่วยป้องกันเซลล์สมองจากความเสียหาย
เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ในระยะปานกลางและระยะรุนแรง
ตัวอย่างยา: Memantine (Namenda)
3. ยาอื่นๆ
ยาแก้ซึมเศร้า: ช่วยบรรเทาอาการซึมเศร้าที่อาจเกิดขึ้นร่วมกับภาวะสมองเสื่อม
ยาแก้อารมณ์แปรปรวน: ช่วยควบคุมอารมณ์และพฤติกรรม
ยานอนหลับ: ช่วยให้นอนหลับดีขึ้น
การรักษาอื่นๆ
การฝึกสมอง เช่น เล่นไพ่ เล่นหมากรุก
กิจกรรมบำบัด ฝึกร้องเพลง ฝึกศิลปะ กิจกรรมกลุ่ม
กายภาพบำบัด
ออกกำลังกาย เพิ่มการไหลเวียนเลือด
นั่งสมาธิ
การดูแลด้านโภชนาการ
การดูแลสุขภาพจิต
การกระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็ก และคลื่นพัลส์ (ช็อคเวฟพลังงานต่ำเฉพาะสมอง)