Brainwell Medical  |  Advanced Brain Stimulation

Brainwell Medical  |  Wisdom Energy Longevity Laugh

ซึมเศร้า: ความเข้าใจและการดูแล

อาการซึมสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ไม่ใช่ความอ่อนแอทางจิตใจ ถ้าเป็นรุนแรงก็ต้องการความช่วยเหลืออย่างจริงจัง บทความนี้จะทำให้ผู้อ่านเข้าใจซึมเศร้าอย่างละเอียด เข้าใจง่าย เพื่อผู้ป่วยซึมเศร้าและญาติสามารถฟื้นฟูสมองและกลับมาใช้ชีวิตปกติได้ มีแรงบันดาลใจในการมีชีวิต 

ซึมเศร้า มีกี่แบบ? 

1. อาการซึมเศร้า (Depressive Symptoms) หมายถึงความรู้สึกเศร้า ท้อแท้ หรือหมดหวังที่เกิดขึ้นชั่วคราว ซึ่งเป็นปฏิกิริยาปกติต่อเหตุการณ์ในชีวิต เช่น การสูญเสียหรือความผิดหวัง อาการเหล่านี้มักหายไปเมื่อเวลาผ่านไปและไม่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน

2. ภาวะซึมเศร้า (Depressive State) เป็นขั้นที่อาการซึมเศร้าต่อเนื่องและรุนแรงขึ้น ส่งผลให้ผู้ที่มีภาวะนี้รู้สึกเศร้า หมดความสนใจในกิจกรรมที่เคยชอบ มีปัญหาในการนอนหลับหรือการกินอาหาร และอาจมีความคิดเกี่ยวกับการทำร้ายตนเอง ภาวะนี้ยังไม่ถึงขั้นเป็นโรค แต่ควรได้รับการดูแลและปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ

3. โรคซึมเศร้า (Major Depressive Disorder) เป็นการวินิจฉัยทางการแพทย์ที่ระบุว่าผู้ป่วยมีอาการซึมเศร้ารุนแรงและต่อเนื่องนานกว่า 2 สัปดาห์ ส่งผลกระทบต่อการทำงาน การเรียน และความสัมพันธ์ในชีวิตประจำวัน ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าควรได้รับการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต เช่น การใช้ยาและการบำบัดทางจิตวิทยา

โรคซึมเศร้า (Major Depressive Disorder, MDD) เกิดจากอะไร?

โรคซึมเศร้าเกิดจากความผิดปกติของสารสื่อประสาทในสมอง ทั้งเซโรโทนิน นอร์อิพิเนฟริน โดปามีน ในสมองส่วนต่างๆ เช่น อะมิกดาลา ทำให้ไวต่อความเครียดและอารมณ์เชิงลบ, ฮิปโปแคมปัส ทำให้รับรู้และความจำแย่ลง, สมองส่วนหน้า ทำให้ควบคุมอารมณ์ได้แย่ลง 

ในเชิงประสาทวิทยายุคใหม่ พบความผิดปกติในเครือข่ายต่างๆ เช่น เครือข่ายโหมดเริ่มต้น เครือข่ายการควบคุมความรู้สึก และการรับรู้ผิดปกติ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม อาจกลายเป็นภาวะซึมเศร้ารุนแรง ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการทำร้ายตัวเองได้

อาการหลักของโรคซึมเศร้า: 

  • อารมณ์ซึม หงอย เศร้า ท้อแท้
  • อาการไม่อยากทำอะไร เบื่อ ร่วมกับอาการเหล่านี้:
    • ไม่อยากกินอาหาร หรือกินอาหารมากเกินไป กินไม่เคยอิ่ม
    • ไม่อยากนอนหลับ ไม่มีความรู้สึกง่วงนอน หรืออยากนอนแต่หลับยาก หลับๆ ตื่นๆ หรือหลับมากเกินไป
    • ไม่มีสมาธิ คิดช้า พูดสื่อสารได้ช้า มีความหงุดหงิด กระวนกระวาย อยู่นิ่งไม่ได้
    • รู้สึกไม่มีแรง เหนื่อยใจ ล้า อ่อนเพลีย
    • รู้สึกตนเองไร้ค่า ไม่มีคุณค่า คิดไปเองว่าไม่มีใครต้องการ ไม่สามารถมีประโยชน์กับใครได้
    • มีความคิดว่าไม่อยากมีชีวิตอยู่ หรืออยากทำร้ายตนเอง รุนแรงจนคิดอยากจบชีวิตตนเอง

อาการเหล่านี้ต้องเกิดขึ้นเกือบทุกวัน ติดต่อกันนาน 2 สัปดาห์ และส่งผลกระทบต่อกิจวัตรประจำวัน การเข้าสังคม หรือการทำงาน

แนวทางการวินิจฉัย 

  • พบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาโดยเร็ว การประเมินเบื้องต้นใช้เครื่องมือมาตรฐาน เช่น PHQ-9 หรือ Hamilton Depression Rating Scale เพื่อประเมินความรุนแรงของอาการ
  • การวินิจฉัยแยกโรค: พิจารณาภาวะทางจิตเวชอื่น ๆ ที่อาจมีอาการคล้ายคลึงกัน เช่น โรคไบโพลาร์ หรือความผิดปกติทางบุคลิกภาพ
  • โรคทางร่างกายที่ทำให้ซึมเศร้าได้ เช่น โรคหัวใจเรื้อรัง มะเร็ง เบาหวาน พาร์กินสัน อัลไซเมอร์ ไทรอยด์ต่ำหรือสูง ภูมิคุ้มกันทำลายตัวเอง SLE ปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple Sclerosis) โรคปวดเรื้อรังต่างๆ หยุดหายใจขณะหลับ ฯลฯ 

วิธีดูแลตัวเองเมื่อมีอาการซึมเศร้า:

  • คุยกับคนที่ไว้ใจ เช่น ครอบครัวหรือเพื่อน
  • ทำกิจกรรมที่ทำให้มีความสุข พบปะผู้คนบ่อย ๆ
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน
  • นอนหลับและรับประทานอาหารที่เหมาะสม
  • เข้าใจว่าเป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน และรักษาหายได้
  • งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ งดสูบบุหรี่ และยาเสพติด

แนวทางการรักษา

จากข้อมูลปี 2566 คนไทยอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าถึง 1.5 ล้านคน และมีอัตราการเพิ่มสูงขึ้น 1-2% แต่มีเพียงครึ่งหนึ่งจากจำนวนทั้งหมดเท่านั้นที่เข้าถึงการรักษา โดยมีแนวทางการรักษาเบื้องต้นดังนี้

1. การส่งเสริมสุขภาพจิต แนะนำการออกกำลังกาย การนอนหลับที่เพียงพอ และการจัดการความเครียด

2. การรักษาด้วยยา: ยาต้านเศร้ากลุ่ม SSRIs และ SNRIs, TCAs หรือ MAOIs  เริ่มต้นด้วยขนาดต่ำและปรับเพิ่มตามความจำเป็น โดยติดตามผลข้างเคียงอย่างใกล้ชิด การใช้ยาจำเป็นต้องใช้เวลาอย่างน้อย 4-6 สัปดาห์ ไม่ควรหยุดกินยาเอง มีโอกาสที่โรคจะสงบได้ 50-60%

3. การทำจิตบำบัด (Psychotherapy) เช่น Cognitive Behavioral Therapy, CBT (CBT) กับนักจิตวิทยาอย่างต่อเนื่อง

4. การกระตุ้นสมองด้วยแม่เหล็ก (TMS): เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่กินยาอยู่แล้วยังไม่ค่อยดี ดื้อต่อยา หรือต้องการเสริมการรักษาด้วยยาให้ได้ผลดีขึ้นเร็วขึ้น พบว่าโรคจะสงบเพิ่มขึ้นจากการกินยาอีก 50-60%

5. การรักษาด้วยไฟฟ้าผ่านสมอง (Electroconvulsive Therapy, ECT): พิจารณาในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงหรือไม่ตอบสนองต่อการรักษาอื่น ๆ พบว่าโรคสงบเพิ่มขึ้น 50-60% 

6. หลังจากอาการดีขึ้น ควรรับการรักษาต่อเนื่องอย่างน้อย 6-12 เดือน เพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ

ที่ Brainwell Medical เราดูแลฟื้นฟูกระตุ้นสมองผู้ที่มีอาการซึมเศร้าทุกระดับ ตั้งแต่ระดับน้อยจนถึงระดับรุนแรงมาก ตั้งแต่พึ่งเริ่มเป็นจนถึงเป็นเรื้อรังหลายปี โดยรับปรึกษาเคสจากแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป หรือจิตแพทย์จากทั่วประเทศ โดยมีขั้นตอนดังนี้

1. ตรวจการทำงานของคลื่นสมองด้วย qEEG Brain Mapping LORETA เพื่อแสดงการทำงานของสมอง ณ ปัจจุบัน ว่ามีปัญหาที่สมองส่วนใด ความรุนแรงมากน้อยเท่าใด เพื่อการรักษาที่เจาะจงแม่นยำ (precision) และปรับการกระตุ้นสมองให้ดีที่สุดสำหรับแต่ละราย (personalized) เพื่อประหยัดเงินและเวลาของคนไข้ให้มากที่สุด 

2. ใช้การนำทางด้วยภาพสแกนสมอง 3 มิติ (3D-Neuronavigator) เพื่อความแม่นยำอย่างยิ่ง (precision)

3. ใช้เทคนิคการกระตุ้นสมองระดับลงลึกและอัลกอริทึมล่าสุด จากแพทย์ผู้ชำนาญการและผู้บรรยายด้านการกระตุ้นสมอง โดยโปรแกรมอัลกริทึมปัจจุบัน ได้ผลลัพธ์ดีกว่าเดิม 6-10 เท่า ประหยัดเงินและเวลาให้คนไข้ได้มากขึ้น

4. โปรแกรม TMS Brainwell✚: Advanced Transcranial Magnetic Stimulation การกระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็ก ไม่ต้องผ่าตัด ไม่ใช่การช็อตไฟฟ้า 

5. โปรแกรม TPS Brainwell✚: Advanced Transcranial Pulse Stimulation การกระตุ้นสมองด้วยคลื่นพัลส์ ซึ่งเป็นคลื่นเหนือเสียงพลังงานต่ำสำหรับสมอง สร้างเส้นเลือดใหม่ สร้างการแบ่งตัวของเซลล์ประสาท

ภาวะซึมเศร้าสามารถรักษาให้หายขาดได้ หรือช่วยให้อาการดีขึ้นกว่าเดิมได้ อย่าลังเลที่จะหาความช่วยเหลือถ้าไม่ไหว การได้รับการรักษาที่ถูกวิธี ถูกที่ ถูกเวลา จะทำให้อาการดีขึ้นอย่างรวดเร็ว การเข้าใจและการจัดการกับโรคซึมเศร้าอย่างถูกต้องเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้เราสามารถดูแลตนเองและคนรอบข้างได้อย่างมีความสุขจากหัวใจ

www.BrainwellMedical.com | Advanced Brain Stimulation

กรุงเทพฯ;

พัทยา:

Inquiry Form

Interested in *

Caution for Brain Stimulation * Do you have these conditions?