เกิดอะไรขึ้นในสมองด้านขวาของเด็กออทิสติก ?
ในคนปกติ สมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเข้าสังคม การรู้ใจเขาใจเรา และเรื่องทฤษฎีจิต Theory of mind (TOM) เรียกรวมว่า “Mentalizing Network” หรือ “เครือข่ายจิตใจ”
เครือข่ายนี้กว้างมาก ประกอบด้วยสมองส่วนหน้า สมองด้านข้างทั้งขวาและซ้าย และสมองส่วนด้านใน ในรูปคือส่วนที่เป็นกรอบเส้นสีเขียว คิดง่ายๆว่าเป็นภาคตะวันออกทั้งหมด ที่มีหลายๆจังหวัดอยู่ในนั้น (DMPFC, MMPFC, VMPFC, RTPJ, LTPJ, RSTS, temporal lobe, posterior cingulate – ชื่อเต็มอยู่ด้านล่างนะครับ)
ในเด็กออทิสติกที่มีปัญหาด้านการเข้าสังคม การแยกแยะสถานการณ์ต่างๆว่าเป็นเรื่องปกติหรือผิดปกติในสังคม การเข้าใจตัวเองและเข้าใจผู้อื่น จะมีสมองเหล่านี้ทำงานน้อยกว่าปกติ โดยเฉพาะด้านขวา ซึ่งมีงานวิจัยมากกว่า 10 ฉบับรายงานมาก่อนหน้านี้
งานวิจัยนี้จะให้ดูเป็น “หนัง” ซึ่งจะซับซ้อนกว่างานวิจัยก่อนๆมากที่ให้ดูแค่รูป ดูคำ หรือฟังเสียง เหตุผลเพื่อเลียนแบบสถานการณ์ในชีวิตจริงมากขึ้น โดยให้เด็กออทิสติกที่สื่อสารรู้เรื่อง (high function autism) เข้าเครื่อง fMRI แล้วดูหนังเรื่องนึงนาน 20 นาที

โดยในหนังจะมีหลากหลายอารมณ์ความรู้สึก มีมุมกล้องหลายมุม มีการเล่นมุขแปลกๆ และเก็บข้อมูลว่าฉากไหนที่เด็กดูแล้วรู้สึก “แปลกไปจากสังคมปกติ” มาลงเป็นคะแนนแล้วเอามาเชื่อมโยงกับภาพจากเอกซเรย์แม่เหล็ก fMRI
ผลปรากฏว่า ในเด็กปกติ (รูปบน) เมื่อมีฉากที่รู้สึก “แปลกไปจากส้งคมปกติ” สมองส่วนต่างๆใน Mentalizing Network จะทำงานมากขึ้นอย่างชัดเจน เห็นเป็นสีส้มแดงส้มเหลือง และมีสมองส่วนการมองเห็นที่ occipital lobe ด้านหลัง ด้วย
แต่ในเด็กออทิสติก (รูปล่าง) สมองทั้งเครือข่ายนี้ ทำงานน้อยกว่าเด็กปกติอย่างชัดเจน โดยเฉพาะสมองด้านขวาบนลงมาถึงหูขวา (RTPJ, RSTS) ซึ่งตรงกับงานวิจัยก่อนหน้านี้กว่า 10 ฉบับ ว่า 2 จุดนี้สัมพันธ์กับปัญหาเรื่องการเข้าสังคมในเด็กออทิสติก
สรุป
การรับรู้ว่าเรื่องไหนเป็นเรื่องปกติหรือผิดปกติในสังคม การเข้าใจผู้อื่น การใช้ชีวิตในสังคมร่วมกันผู้อื่น ต้องใช้สมองส่วนหน้า สมองด้านข้าง (โดยเฉพาะด้านขวา RTPJ) สมองด้านหลัง ประสานงานร่วมกันทั้งเครือข่าย ซึ่งเด็กออทิสติกมีปัญหาว่าสมองส่วนนี้ทำงานน้อยกว่าปกติ ทำให้มีปัญหาด้านสังคม
จากงานวิจัยใน 10 ปีหลังนี้ พบว่า สมองไม่ได้ทำงานเป็น “จุด” เหมือนที่เราเคยเรียนอีกต่อไป แต่สมองทำงานเป็น “เครือข่าย” โยงใยกันทั่ว ดังนั้นการกระตุ้นแค่จุดๆเดียวไม่เพียงพอ ควรกระตุ้นเป็นเครือข่ายที่ครอบคลุมปัญหาทั้งหมด
การกระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็ก (#TMS) เป็นการแก้ปัญหาที่สมองโดยตรง เกิน 80% เราพบว่าเด็กๆเล่นกับคนอื่นๆดีขึ้น อ่านสีหน้าท่าทางดีขึ้น ยิ้ม หัวเราะ ตอบสนองกับคนอื่นๆมากขึ้น เข้าสังคมได้ดีขึ้น หลังการกระตุ้นประมาณ 10-20 ครั้งอย่าหวังพึ่ง TMS อย่างเดียวนะครับ มันเหมือนเป็นการขึ้นทางด่วน ต้องฝึกกิจกรรมบำบัด ฝึกพูด และรักษาวิธีอื่นๆร่วมด้วยนะครับ
ชื่อเต็ม
- DMPFC = dorsomedial prefrontal cortex
- MMPFC = middle medial prefrontal cortex
- VMPFC = ventromedial prefrontal cortex
- RTPJ = right temporoparietal junction
- LTPJ = left temporoparietal junction
- RSTS = right superior temporal sulcus
- fMRI = functional magnetic resonance imaging
- TOM = Theory of Mind